คลินิกโรคไตเรื้อรัง ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายในการช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต, การเฝ้าติดตามและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคไตเรื้อรัง รวมถึงการเตรียมตัวให้ผู้ป่วยสำหรับการบำบัดทดแทนไตเมื่อการดำเนินโรคเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ภายใต้การดูแลของทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
สถานที่ให้บริการ: อาคารกัลยาณิวัฒนานุสรณ์ (กว.) ชั้น 5
วันและเวลาให้บริการ:
- ให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 9.00-12.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
การติดต่อ: โทร. 043-348888 ให้ operator ต่อ 67232 ,67235; เบอร์มือถือ 081-1450387 (ในเวลาราชการ)
เกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าคลินิกโรคไตเรื้อรัง:
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะโรคไตเรื้อรังโดยอายุรแพทย์หรืออายุรแพทย์โรคไต ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโรคไตที่มีอัตราการกรองของไต < 30 มล./นาที/1.73ม2 (ไตเสื่อมระยที่ 4-5)
- ผู้ป่วยโรคไตที่มีอัตราการกรองของไต 30-60 มล./นาที/1.73ม2 (ไตเสื่อมระยที่ 3) ที่มีอาการแสดงร่วมอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- มีโปรตีนไข่ขาวรั่วในปัสสาวะอย่างมีนัยยะสำคัญ(Albuminuria ≥ 300 มิลลิกรัม/วัน หรือ Proteinuria ≥ 500 มิลลิกรัม/วัน) หลังจากได้รับการควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายแล้ว โดยตรวจซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป
- มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ > 10 ตัว /HPF ติดต่อกันโดยตรวจซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป
- มีการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องผิดปกติ ได้แก่
- มีการเพิ่มขึ้นของ CKD staging หรือมีค่า eGFR ลดลง > ร้อยละ 25 จากค่าตั้งต้น
- มีการลดลงของ eGFR > 5 มล./นาที/1.73ม2 ต่อปี
- มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ แม้ว่าใช้ยาลดความดันรักษาตั้งแต่ 4 ชนิดขึ้นไป
- มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเรื้อรัง
- มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะที่มีการกลับมาเป็นซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
- โรคไตเรื้อรังที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต
กิจกรรมการบริการ:
ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคไตเรื้อรังจะได้รับการตรวจคัดกรองและได้รับการจัดกลุ่มผู้ป่วย ตามระยะของโรคไตเสื่อมและปัญหาเฉพาะของผู้ป่วย เพื่อเข้ารับการให้ความรู้และเข้ากิจกรรมกลุ่มย่อย ที่ทีมสหวิชาชีพจัดให้ตามความเหมาะสม ซึ่งมีกิจกรรมให้ความรู้ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
1. กิจกรรมการให้ความรู้ด้านโภชนาการ
2. กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการออกกำลังกาย
3. กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการใช้ยา
4. การตรวจติดตาม และการเตรียมตัวสู่การบำบัดทดแทนไต
5. กิจกรรมการให้ความรู้การรักษาแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง
ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจรักษา ร่วมกับบันทึกผลการตรวจรักษา การประเมินผู้ป่วยตามความเสี่ยงโดยแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์, แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาอายุรศาสตร์โรคไตหรืออายุรแพทย์โรคไต มีการแจกสมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและบันทึกผลการตรวจและการรักษาในแต่ละครั้งที่มารับบริการเพื่อเป็นให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องในกรณีผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นและเป็นช่องทางสื่อสารไปยังบุคลากรสาธารณสุขในชุมชนของผู้ป่วยเพื่อให้การดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป